ดื่มแอลกอฮอล์อย่างไรให้รอดพ้นจากคุก
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ถูกจัดลำดับให้เป็นประเทศที่ดื่มแอลกอฮอล์มากเป็นอันดับ ที่ 5 ของโลก นับเป็นอันดับต้นๆของโลกที่ไม่มีประเทศไหนก็ไม่อยากติดหรืออยู่ในอันดับท็อบๆของการจัดลำดับนี้ ซึ่งถ้าหากผู้ที่บริโภคสุราแล้วไปขับขี่ยานพาหนะ ก็จะทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง และเป็นสาเหตุให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ของตนเองและของผู้อื่น อีกทั้งยังถูกดำเนินคดีอาญา ในข้อหาขับรถขณะเมาสุราเป็นอย่างน้อยอีกด้วย
โดยสถิติการถูกดำเนินคดีในข้อหา ขับรถในขณะเมาแอลกอฮอล์ ที่ถูกส่งมาดำเนินคดี ณ สำนักงานอัยการคดีศาลแขวงอุดรธานี ในปี พ.ศ.2554 มีปริมาณ 2,015 คดี และในปี พ.ศ.2555 มีปริมาณ 2,357 คดี ซึ่งจะเห็นแนวโน้มของผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาดังกล่าวมีมากขึ้นตามลำดับ
การขับขี่รถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซที่มีอาการเมาแอลกอฮอล์ถือเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(2) ที่กำหนดมิให้ผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุรา โดยคำว่า รถ
การขับรถในขณะที่มีอาการเมาแอลกอฮอล์ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(2) ที่กำหนดมิให้ผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุรา โดยคำว่า “รถ” ตามกฎหมายดังกล่าวหมายถึงยานพาหนะ ทางบกทุกชนิด ยกเว้นรถรางและรถไฟ ส่วนอาการเมาสุรานั้น หากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ให้ถือว่าเมาสุรา (กฎกระทรวงฉบับที่ 16 (พ.ศ. 2537)) สำหรับการตรวจสอบผู้ขับขี่รถว่ามีอาการเมาสุราหรือไม่นั้น หากเจ้าหน้าที่ตำรวจสงสัยว่าผู้ขับขี่รถมีอาการเมาสุราก็มีอำนาจในการสั่ง ให้หยุดรถและสั่งให้มีการทดสอบได้ และหาก ผู้ขับขี่รถมีการการเมาสุราก็จะมีความผิดตามกฎหมายจราจร (ไม่สามารถเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายได้) โดยมีอัตราโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ศาล สั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกําหนดไม่น้อยกว่าหกเดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
นอกจากความผิดในเรื่องของขับขี่รถในขณะเมาสุราหรือการเมาแล้วขับนั้น ต่อมาได้มีการผลักดันกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปี 2551เพื่อกำหนดมาตราการในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยได้มีการประกาศกำหนดห้ามขายหรือดื่มสุราในสถานที่หรือในบริเวณของรัฐ วิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นบริเวณที่ถูกจัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสร หรือเป็นการจัดเลี้ยงตามประเพณี และห้ามดื่มสุราในขณะโดยสารอยู่ในรถหรือบนรถด้วย โดยผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สำหรับผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์และมีความจำเป็นต้องขับรถกลับบ้านนั้นควรมีความระมัด ระวังการดื่มให้มากเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย ผู้ดื่มสุราควรระวังการดื่มโดยควรรู้ว่าสุราแต่ละประเภทมีปริมาณแอลกอฮอล์ ที่แตกต่างกัน เช่น เบียร์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 5 ดีกรี ปริมาณ 1 กระป๋อง (330 มิลลิลิตร) จะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หรือปริมาณการดื่มเบียร์ 1 ขวด (630 มิลลิลิตร) หรือเบียร์ 2 กระป๋อง ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดอาจมากกว่าหรือน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ก็ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ดื่มเป็นสำคัญ หากผู้ดื่มมีน้ำหนักน้อยปริมาณแอลกอฮอล์จะมีมากกว่าคนที่น้ำหนักตัวมาก ทั้งนี้ ใน 1 ชั่วโมง ร่างกายจะสามารถกำจัดแอลกอฮอล์ได้ประมาณ 15 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะมีแอลกอฮอล์ที่ค้างอยู่ในปาก 15 - 20 นาที ดังนั้น หากถ้ามีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากลมหายใจจะมีผลทำให้ระดับแอลกอฮอล์สูง กว่าความเป็นจริง การบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าจะสามารถกำจัดแอลกอฮอล์ที่ค้างอยู่ในปากได้ระดับ หนึ่ง เพื่อมิให้ผิดกฎหมายควรดื่มด้วยความระมัดระวังด้วยนะครับ